Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

ต้นกาแฟเชอรี่สีแดงและสีเหลือง ที่ ไร่กาแฟ วาวี
…..เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมานี้เอง หลังจากเสร็จงานกับกลุ่ม สพภ. แล้ว ผมก็กลับมายังที่ไร่กาแฟ ระหว่างที่กำลังพักผ่อน ก็มีชาวเขาเดินมาบอกว่ามีต้นกาแฟที่สุกอยู่ 2 ต้น  อยู่ใกล้ไร่กาแฟ  ปลูกอยู่ติดกัน แต่ผลสุกของกาแฟ เป็นสีแดง อีกต้นสุกเป็นสีเหลือง อยากให้ออกไปดูด้วยกัน ผมก็ไม่รอช้า รีบออกไปดู บันทึกสิ่งต่างๆ ที่เห็น จากความสูง 1,200 เมตร ถ่ายรูป และใบไว้ และเก็บผลเม็ดพันธุ์ไว้ แล้วยังเก็บต้นกล้าอ่อน ที่แตกยอดเป็นปีกเสื้อแล้วไว้ด้วย ที่ต้นแม่พันธุ์ แม้จะดูเหมือนว่าไม่ค่อยได้รับการดูแล แต่ก็ยังมีความสมบูรณ์ดี ไม่มีโรค เม็ดผลกาแฟก็สุกและดกเต็มทุกข้อ  ผมก็พยายามจดบันทึกไว้จะลองสืบค้นหาสายพันธุ์ของมัน  แต่แปลกตรงที่มันมีเพียง 2 ต้น และสุกช้ากว่ามาก รอบๆ บริเวณก็มีต้นกาแฟ แต่ได้สุกไปก่อนหน้านั้นทั้งหมดแล้ว ผมตื่นเต้นเป็นพิเศษ เหมือนกับว่าได้เจอต้นสายพันธุ์ที่แท้จริง เพราะบรรดาสายพันธุ์กาแฟต่างๆ ได้ถูกพัฒนาไปไกลแล้ว โดยที่ ไร่กาแฟ วาวี ก็เลือกเอา อาราบิก้า คาติมอร์ เชียงใหม่ 80 มาปลูก แต่การเจอครั้งนี้เหมือนกับได้ย้อนเวลาได้เจอกับบรรพุบุรุษอย่างนั้นเลย  จากนั้นผมไม่รอช้าเดินสอบถามชาวบ้าน ชาวเขา บริเวณนั้น ก็ไม่พบเจอใครว่าเป็นเจ้าของ
…..ผมนึกในใจแล้วว่า ถ้าเป็น คาติมอร์กาแฟเชอรี่แดง รสชาติคงเหมือนธรรมดาทั่วไป แต่ถ้าเป็นคาติมอร์กาแฟเชอรี่เหลือง รสชาติของเนื้อจะหวานกว่ากาแฟเชอรี่แดง แต่จะดีกว่ากันอย่างไรต้องไปพิสูจน์กัน  แต่ถ้าเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมจริงๆ อย่าง  เบอร์บอนเหลือง , แคททูร่าเหลือง , คาทูย หรือ ทิปปิก้า รสชาติจะแตกต่างจากคาติมอร์แน่นอน   ทิปปิก้า ที่ได้รับกล่าวขวัญถึงรสชาติ ความหอม ความนุ่มนวล  ผมจะนำมาเพาะขยายพันธุ์ เพื่อรักษาสายพันธุ์และดูแลรักษาไว้อย่างดี ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ต้นกาแฟทุกต้น ยังคงได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ตอนนี้ผมได้ทำการคัดแยกเม็ด จัดสวน แปลงปลูก ผลผลิต ออกจากกันอย่างชัดเจน ไว้เพื่อรักษาสายพันธุ์ และเก็บไว้ทดลองในเรื่องของรสชาติ ต่อไป

สุดท้าย…
…..ปัจจุบันนี้ ที่ ไร่กาแฟวาวี ได้รับ ต้นกล้าและสายพันธุ์ ทิปปิก้าเหลือง และ อาราบิก้า-คาติมอร์เหลืองไว้แล้ว และกำลังเพาะต้นกล้าเพื่อลงพื้นที่ปลูกกันต่อไป  ถึงแม้ความสงสัยของผม ยังไม่ได้คลี่คลาย แต่กลับทิ้งประเด็นคำถามไว้หลายข้อ คงต้องเก็บไว้ในบันทึกของเรื่องต้นกาแฟเชอรี่สีแดงและสีเหลือง ที่ ไร่กาแฟ วาวี ไว้อยู่ต่อไป

สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพและคณะ เดินทางมาศึกษาดูงาน กาแฟชะมด ที่ไร่กาแฟ วาวี
เมื่อเดือนกุมภาพันธ์  ผมได้มีโอกาสต้อนรับคณะดูงาน จากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ(สพภ.) , เจ้าหน้าที่จากสวนสัตว์เชียงใหม่  และเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ในโครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากฐานชีวภาพ (กวางและชะมด) ศึกษาดูงานและสำรวจข้อมูลการผลิตกาแฟจากสัตว์วงศ์ชะมด โดยได้เดินทางมาดูงานการผลิตกาแฟชะมดที่ ไร่กาแฟ วาวี และยังได้พบปะพูดคุยกับ กลุ่มเลี้ยงชะมด(อีเห็น) ดอยช้าง ณ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรที่สูง จ.เชียงราย ในเรื่องของการผลิต การส่งเสริม กฏหมายสัตว์ป่า เพื่อทาง สพภ. จะได้ให้การสนับสนุนต่อๆไป รวมทั้งยังได้เดินทางไปดู สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า แม่จัน จ.เชียงราย ซึ่งมี อีเห็น ที่เพาะเลี้ยงเพื่อเตรียมผสมพันธุ์และทดลองกินกาแฟ

ข่าว
สพภ.โครงการส่งเสริมพัฒนาธุรกิจจากฐานชีวภาพ (กวางและชะมด) ศึกษาดูงานและสำรวจข้อมูลการผลิตกาแฟจากสัตว์วงศ์ชะมด :
Update On 21/2/2555

คณะเจ้าหน้าที่ของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ประกอบด้วย นายชวาล ทัฬหิกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรชีวภาพ นายเพิ่มบุญ จูฑะเตมีย์ ที่ปรึกษาโครงการฯ นางสาวศรีสุดา เพ็งสมบัติ ผู้จัดการโครงการฯ ร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่จากสวนสัตว์เชียงใหม่ และเจ้าหน้าที่จากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประกอบด้วยหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ และหัวหน้าสถานีเพราะเลี้ยงสัตว์ป่าปางตอง ได้ศึกษาดูงานและสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตกาแฟจากสัตว์วงศ์ชะมดของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟและผลิตกาแฟจากสัตว์วงศ์ชะมด ณ ศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรที่สูง จ.เชียงราย และพื้นที่ดอยช้าง อ.แม่สรวย และ ต.วาวี อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2555

http://www.bedo.or.th/bd011_NewsDetail.aspx?RowID=2574

ภาพถ่ายระหว่างเส้นทางท่องเที่ยว

ผมใช้กล้องดิจิตอล อยู่ 2 ตัว จะใช้ Panasonic LX3 เป็นหลัก กับ Canon PowerShot S3 IS ไว้สำรอง  นอกนั้นมี compact บ้างเล็กน้อย รูปมีเยอะเลยครับ แต่ผมยังถ่ายทอดออกมาไม่สวยเหมือนธรรมชาติที่เห็นจากของจริงเลย ขอเชิญเพื่อนๆ ไปดูเองดีกว่าครับ

thailandcivetcoffee.wordpress.com

สวัสดีครับ ห่างหายไปพักหนึ่งครับ ไปทำสำรวจและทำแผนที่ท่องเที่ยว เชียงราย-ดอยชมหมอก-ดอยช้าง มาให้  งานนี้ผมรวบรวมข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ รวมทั้งจากบันทึกการเดินทางของผมเอง รวมทั้งภาพถ่ายทั้งหมดก็เป็นของผมด้วย

เส้นทางที่ผมแนะนำนั้น สามารถขับรถได้ตลอดทั้งเส้นทาง เส้นทางดี ลาดยาง รถเล็ก รถใหญ่ กระบะ เก๋ง มอไซค์ ไปได้หมด ท่านสามารถขับรถ ชมวิวทิวทัศน์ได้ตลอดสองข้างทาง ท่านที่ชอบท่องเที่ยวถ่ายภาพ รับรองว่าถูกใจ ส่วนท่านไหนที่ชอบ
อากาศเย็น ก็จะได้ สัมผัสอากาศเย็นๆ หรือจะเป็นทะเลหมอกยามเช้าที่หาดูได้ หรือจะสัมผัสไอหมอกอย่างใกล้ชิด ก็เลือกท่องเที่ยวได้ในเส้นทางนี้

ในบางเส้นทางหน้าฝน (น้ำตกขุนกรณ์-สถานนีเกษตรฯ เป็นทางลูกรัง) ควรเป็นรถกระบะจะดีครับ เส้นทางสวยเป็นธรรมชาติมากๆ เป็นป่าสน สลับกับต้นนางพญาเสือโคร่ง

มีฉากถ่ายทำโฆษณาของรถกระบะ ในฉากที่ลุยน้ำที่อ่างเก็บน้ำห้วยส้านและทิวป่าสน ในคลิปนี้ด้วย

เกี่ยวกับ แผนที่ท่องเที่ยวที่ผมจัดทำไว้ 3 แผ่น คือ
-แผนที่ภาพรวม ส่วนที่ 1
-แผนที่ขยาย ส่วนที่ 2 (ศูนย์เกษตรฯ)
-แผนที่ขยาย ส่วนที่ 3 (ดอยชมหมอก-ดอยกาดผี)
-แผนที่ท่องเที่ยวที่จัดทำโดย ศูนย์วิจัยฯ อีก 2แผ่น

เส้นทางในแผนที่ เป็นทางวิ่งวงกลมได้ คือ หากมาจากพะเยา ตามทางหมายเลข 1 วิ่งไปยัง จ.เชียงราย พอถึง อ.แม่จัน ใช้ทางเลี้ยวซ้าย ไป อ.แม่อาย (หรือจะแวะไปตลาดแม่สาย ก็อยู่ไม่ไกลแล้ว) แวะชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในแผนที่ คืนนี้อาจจะนอนที่ดอยแม่สลอง พักหายเหนื่อย พรุ่งนี้ไปเที่ยวต่อที่ สวนส้มธนาธร วัดท่าตอน แล้วแวะขึ้นมานอน ดอยกาดผี อีกสักคืน ชมทะเลหมอกในตอนเช้าจนถึงเวลาสายๆ ยังมีทะเลหมอกอยู่ที่ ดอยชมหมอก หรือไปทางบ้านใหม่หมอกจ๋าม มาถึง แวะชิมชาที่ดอยวาวี หรือที่เลาลีรีสอร์ท (พักที่นี่ได้บรรยากาศดีเหมือนกัน) ขับเรื่อยมาตามแผนที่ ขึ้นมานอนบน ศูนย์เกษตรที่สูงฯ เชียงราย อีกคืน ชิมกาแฟจากยอดดอยช้าง ที่ผลิตขึ้นที่ศูนย์เกษตร แห่งนี้  และยังท่องเที่ยวสถานที่ภายในศูนย์ได้ เช่น บ่อน้ำทิพย์หรือบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์  สวนพุทธอุทยาน  จุดชมวิวพระอาทิตย์ตก คืนนี้พักที่ศูนย์ดูจะเหมาะสมหรือจะพักรีสอร์ทในบ้านดอยช้างก็มีครับ   ตื่นเช้าเพื่อเตรียมตัวเดินทางกลับ และเลือกที่จะใช้เส้นทางระหว่าง ทางลุยๆ สัมผัสบรรยากาศที่ยังคงธรรมชาติ ลงทางบ้านห้วยส้านพลับพลา   หรือหากเป็นรถเล็ก ใช้เส้นทางกลับ บ้านแสนเจริญ ท่านจะได้ชมวิวเทือกเขาสูงและอ่างเก็บน้ำแม่สรวย ไม่แพ้กันเลย เหนื่อยนักพักชิมกาแฟและเบเกอรี่ขึ้นชื่อที่ ร้านสวนจริญรีสอร์ท  ต่ออีกสักนิดก่อนกลับ แล้วก็อย่าลืมไหว้พระ ที่วัดร่องขุ่น ด้วยนะครับ (จะไหว้ขาไปหรือกลับได้สะดวก)

ขอเสนอเป็นอีกหนึ่งเส้นทางในการท่องเที่ยว รับรองว่าประทับใจแน่นอน

Thailand Civet Coffee
เนื้อหาต่อไปจะเป็นรูปถ่าย

กาแฟชะมด

เตรียมพบกันที่นี่ เร็วๆ นี้

ชะมดหรืออีเห็นในประเทศไทย
ชะมดและอีเห็นทั้งหมดจำนวน  11 ชนิด  ถูกจัดให้เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม  และมีในบัญชีรายชื่อสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง 8 ชนิด และไม่มีในบัญชีรายชื่อ 3 ชนิด

รายละเอียดดังนี้


อีเห็นที่พบทางภาคเหนือ ที่พบส่วนมากมีอยู่ 3 สายพันธุ์  (ภาพประกอบจาก Internet)
– อีเห็นข้างลาย (Paradoxurus  hermaphroditus) อีเห็นธรรมดา

– อีเห็นเครือ (Paguma larvata) อีเห็นหน้านวล

– อีเห็นหน้าขาวหรืออีเห็นหูด่าง (Arctogalidia trivirgata)

เรามาช่วยกันอนุรักษ์สัตว์ป่ากันนะครับ : )

ชะมดหรืออีเห็น
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชะมด (Viverridae) เป็นสัตว์จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกหนึ่ง ในวงศ์ที่มีชื่อว่า Viverridae มีทั้งหมด 35 ชนิด โดยมากเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างเพรียว หน้าแหลมยาวเหมือนสุนัข ขนสีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาวมีลายเป็นปล้อง ที่สำคัญเป็นสัตว์ที่มีต่อมผลิตกลิ่นแรงใกล้อวัยวะเพศเกือบทุกชนิด ซึ่งกลิ่นนี้เองใช้เป็นเครื่องประกาศอาณาเขต ใช้ป้องกันตนเองและสื่อสารระหว่างกัน

เป็นสัตว์ที่หากินในเวลากลางคืน กินอาหารได้หลากหลายชนิดทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก อาศัยอยู่ได้ในป่าหลากหลายประเภท ทั้งป่าดิบ ป่าเสื่อมโทรมและแม้แต่พื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์  ปีนต้นไม้ได้เก่ง และในบางชนิดสามารถว่ายน้ำและดำน้ำเพื่อหาสัตว์น้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย

เป็นสัตว์ที่กระจายอยู่ทั่วไปในทุกทวีปที่มีอากาศอบอุ่น สำหรับในประเทศไทยพบหลายชนิด ในหลายสกุล โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดที่พบคือ หมีขอ(Arctictis binturong) และเล็กที่สุดคือ ชะมดเช็ด(Viverricula indica) และใช้กลิ่นที่ชะมดผลิตออกมานี้ทำเป็นยาจำพวกสมุนไพรและเครื่องหอม ถึงกับมีการเลี้ยงกันเพื่อเอา ไขของชะมด มาเป็นวัตถุดิบ

ในประเทศอินโดนีเซียนิยมให้ชะมดที่อยู่ในสกุล Paradoxurus กินเมล็ดกาแฟที่ชาวไร่ปลูก เพื่อรอเมล็ดที่ปะปนมากับมูลของมันไปแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่มีรสชาติหอมหวานกว่าเดิม เนื่องจากในท้องของชะมดนั้นเมล็ดกาแฟจะผสมกับเอ็นไซม์และสารเคมีที่อยู่ในกระบวนการย่อยของมัน ทำให้กาแฟมีกลิ่นและลักษณะเฉพาะ และในประเทศเวียดนามก็นิยมทำเช่นนี้เช่นเดียวกัน

ชื่อสามัญในภาษาไทยเรียกว่า “ชะมด” ในบางสกุลหรือบางชนิดจะเรียกว่า “อีเห็น” ภาษาอังกฤษเรียกว่า “civet” ในภาษาอีสานเรียกว่า “เห็นอ้ม” ในภาษาใต้เรียกว่า “มูสัง” และในภาษามาเลย์เรียกว่า “ลินเส็ง”

 

อีเห็นธรรมดา / อีเห็นข้างลาย / อีเห็นลายจุด

 

ชะมดเช็ด / ชะมดเชียง

หมายเหตุ
ขอแก้ไขบทความบางส่วน เพื่อความเหมาะสม

แนะนำครั้งแรกบน Blog

สวัสดีครับ

ครั้งแรกที่ทำ Blog โดยขอใช้…

thailandcivetcoffee.wordpress.com

…แน่นอนว่า มันเกี่ยวข้องกับ กาแฟขี้ชะมด แต่ผมคงมีเรื่องเล่าให้ฟังระหว่างทางก่อนจะกล่าวถึงกาแฟขี้ชะมด

…เริ่มทีเดียว ผมชื่นชอบรับประทาน กาแฟ มากที่สุด จนอยากให้คำนิยามให้มันสักชื่อ ว่าจะเรียกอะไรดี จนผมต้องค้นหามันให้เจอ จึงเริ่มทำในสิ่งที่ชอบ คือ การกินกาแฟ แบบต่างๆ ร้านต่างๆ เรื่อยไปจนถึง ขึ้นเหนือ ตามหาแหล่งที่ปลูกกาแฟ กลายเป็นท่องเที่ยวเชิงเกษตร(กาแฟ) ไปแล้ว ผมก็จะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับกาแฟ มาให้ฟังเรื่อยๆ ครับ

ขอบคุณ
wordpress.com

ไปเที่ยวที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย

 


…..เมื่อเร็วๆ นี้ ผมได้มีโอกาสไปเที่ยวดูงานที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย จ.เชียงราย มา  ที่นี่ขึ้นชื่อเรื่องการปลูกกาแฟอยู่แล้ว และอยู่ในพื้นที่ดอยช้าง ฉะนั้น เรื่องความรู้เกี่ยวกับกาแฟ หากมาที่นี่แล้ว ได้ความรู้กลับไปทุกคน

…..ผมเองก็มาที่นี่หลายครั้งอยู่เหมือนกัน มาตั้งแต่ ต้นกาแฟในพื้นที่ ยังไม่ออกดอก -> มาจนถึงตอนเก็บเกี่ยวได้แล้ว ก็ยังมาดู มาขอความรู้อยู่เรื่อยๆ

…..โดยเฉพาะช่วงนี้เป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลกาแฟเชอรี่ ผมเองก็ไม่พลาดอยากลองเก็บเองดูบ้าง เลยยืม ก๋วย จากชาวเขา (ตะกร้า เพื่อใช้เก็บผลการแฟเชอรี่ หรือ เป็นภาชนะเช่นเดียวกับเข่งของภาคกลาง ใช้ใส่สิ่งของต่างๆ ถ้าใส่หมูเรียก ก๋วยหมูใส่ไก่เรียก ก๋วยไก่ ฯลฯ จาก เครื่องจักรสานในภาคเหนือ) มาสะพายแล้วก็เก็บผลกาแฟเชอร์รี่เฉพาะลูกที่สุกแดง ทีละลูกดูบ้าง

…..ผมเองก็เชื่ออยู่แล้วว่า หากปลูกกาแฟมาดี เลือกเก็บผลแดงที่สุกมาดี  ไม่มีของเสียลอยน้ำมาปนกลับไปอีก ฉะนั้น รสชาติกาแฟที่ได้ก็เริ่มมั่นใจว่าจะได้รสชาติที่ดีแน่นอน

…..ที่นี่ นอกจากจะได้ความรู้เรื่องการปลูกกาแฟแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอีกด้วย ไว้ผมจะมาเขียนเล่าให้ฟังได้อีกเรื่องเลยทีเดียว